วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สารคดีภัยพิบัติ






สึนามิ ญี่ปุ่น

แหล่งเรียนนรู้ / ภูมิปัญญา

แหล่งเรียนรู้ 

ชื่อ กศน.ตำบล
ที่ตั้ง
ผู้รับผิดชอบ
กศน.ตำบลภูคา
 บ้านเต๋ยกิ่วเห็น หมู่ที่ 7  ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นางลัดดาวัลย์  จิรนันทนุกุล
ศศช.บ้านขุนกูน
บ้านขุนกูน หมู่ที่ 2   ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นางสาวนิภาพรรณ
ศศช.บ้านน้ำขว้าง
บ้านน้ำขว้าง  หมู่ที่ 3 ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นายสุริพล    กันทะวงศ์
ศศช.บ้านแจลง
บ้านแจลง  หมู่ที่ 8 ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นางเกศรินทร์  ศิวศิลป์ประศาสน์
ศศช.บ้านตาน้อย
 บ้านตาน้อย หมู่ 5 ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นายปฏิพล       นันทะน้อย
ศศช.บ้านน้ำปัว
หมู่ที่ 12 บ้านน้ำปัวพัฒนา  ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นางทิพย์วัลย์     ไชยสลี  
ศศช.บ้านจูน
 บ้านจูน หมู่ที่ 11 ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นายวีรชาติ         สุนันท์
ศศช.บ้านน้ำดั้น
 บ้านน้ำดั้นหมู่ที่ 13  ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นางวิลัยพร       คำดี  
ศศช.บ้านแจรงหลวง
บ้านแจรงหลวง หมู่ 4  ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120

นางนงลักษณ์    คำมงคล
ศศช.บ้านน้ำย้อ – ขุนดิน
บ้านน้ำย้อ – ขุนดิน หมู่ที่ 8  ตำบลภูคา
อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นางสาวนันยดา สุธรรมแปง

ศศช.บ้านกอก
 บ้านกอก ตำบลภูคาหมู่ที่ 11 อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  55120
นายเอกราช  สุวรรณ

           ภูมิปัญญาท้อถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเป็นการจักสานข้าวของเครื่องใช้ ด้วยไม้ไผ่ ไว้ใช้ในครัวเรือน  และการซอพื้นบ้าน ดีดพิณ เป็นการร้องรำในหมู่บ้าน
ชื่อภูมิปัญญาท้อถิ่น
ความสามารถ
และประสบการณ์
ที่อยู่
นายเสาร์   อินปา
การจักสาน
43 หมู่ที่  6 บ้านเต๋ยกลาง 
ตำบลภูคา  
นายคำ  อินปา
ซอ ดีดพิณ
21 หมู่ที่ 4 บ้านแจรงหลวง 
 ตำบลภูคา  
นายเปลี่ยน  ทาแปง
ซอ ดีดพิณ
13 หมู่ที่ 3 บ้านผาเวียง
ตำบลภูคา  
นายถึง   ณ ชน
ยาสมุนไพร
82  หมู่ที่ 6 บ้านเต๋ยกลาง  
ตำบลภูคา  
นายเป็ง อินปา
ยาสมุนไพร สู่ขวัญ จักสาน
59 หมู่ที่ 7 บ้านเต๋ยกิ่วเห็น 
ตำบลภูคา  
นายคำปา    อินปา
จักสาน
59 หมู่ที่ 7 บ้านเต๋ยกิ่วเห็น 
ตำบลภูคา  
นายขอด       อินปา
จักสาน
26 หมู่ 7 บ้านเต๋ยกิ่วเห็น  ตำบลภูคา  
นายอ้าย  อินปา
ช่างตีเหล็ก
บ้านห้วยงอน หมู่ 10 ตำบลภูคา  
นาย ด้วง     อินปา
หมอสมุนไพร จักสาน
53 หมู่ 10 บ้านห้วยงอน ตำบลภูคา  


    แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
ชื่อแหล่งเรียนรู้อื่น
ประเภทแหล่งเรียนรู้
ที่ตั้ง
อุทยานภูคา
แหล่งท่องเที่ยว
อุทยานภูคา ตำบลภูคา
น้ำตกต้นตอง
แหล่งท่องเที่ยว
บ้านเต๋ยกิ่วเห็น หมู่ที่ 7
น้ำตกต้นตอง,น้ำตกวิมานธารา
แหล่งท่องเที่ยว
ภูคา 
ถ้ำหมา , ถ้ำลม , ถ้ำเสือดาว
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำปัวพัฒนา
ถ้ำผาฆ้อง
แหล่งท่องเที่ยว
บ้านแจรงหลวง
            


      ภาคีเครือข่าย
ภาคีเครือข่าย
ที่ตั้ง/ที่อยู่
1. องค์การบริหารส่วนตำบลภูคา
บ้านเต๋ยกิ่วเห็น ตำบลภูคา
2. โรงพยาบาลสิ่งเสริมสุขภาพตำบลภูคา
บ้านเต๋ยกิ่วเห็น ตำบลภูคา
3. โรงเรียนภูคาวิทยาคาร
บ้านเต๋ยกลาง  ตำบลภูคา
4. โรงเรียนพนาสวรรค์
บ้านไร่    ตำบลภูคา
5.โรงเรียนบ้างปางยาง
บ้านปางยาง ตำบลภูคา
โรงเรียนบ้านน้ำปัวพัฒนา
บ้านน้ำปัว  ตำบลภูคา
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลภูคา
บ้านเต๋ยกิ่วเห็น ตำบลภูคา
7.อุทยานภูคา
อุทยานภูคา ตำบลภูคา



แหล่งเรียนรู้ /แหล่งท่องเที่ยว ตำบลภูคา




                               อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

                    อุทยานแห่งชาติดอยภู ามีพื้นที่ครอบ คลุมในท้องที่ 8 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ อำเภอแม่จริม ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 1,704 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,065,000 ไร่ จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่าอันจะเห็นได้จากการพบพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดน่าน โดยมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจคือ ดอกชมพูภูคาซึ่งเป็นพันธ์ไม้หายากและมีที่แห่งนี้ที่เดียวในประเทศไทย ต้นเต่าร้างยักษ์ ป่าดึกดำบรรพ์ น้ำตกภูฟ้า พิชิตยอดดอยภูแว ชมถ้ำยอดวิมาน และถ้ำผาฆ้อง



     ต้นชมพูภูคา
       จุดที่สามารถชมต้นชมพูภูคาได้สะดวกที่สุดอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1256 (บัว-บ่อเกลือ) ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคาประมาณ 4 กิโลเมตร โดยทางอุทยานแห่งชาติจัดทำเป็นระเบียงไม้ยื่นออกไปให้ยืนชมต้นชมพูภูคาที่ ยืนต้นสูงขึ้นมาจากหุบเขา ต้นชมพูภูคาต้นนี้เป็นต้นเดียวกับที่ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤษศาสตร์ พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2532 ฤดูกาลที่เหมาะสมแก่การมาชมต้นชมพูภูคา คือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ซึ่งต้นชมพูภูคาจะออกดอกสีชมพูบานสะพรั่ง






        ผาฆ้อง

          เป็นถ้ำขนาดกลางซึ่งประกอบด้วยคูหาถ้ำจำนวนมากที่ต่อเนื่องถึงกัน แต่ละคูหามีหินงอกหินย้อยรูปลักษณ์ต่างๆ สวยงาม ในช่วงฤดูฝนถ้ำผาฆ้องจะมีสายน้ำไหลผ่าน จึงไม่สามารถเข้าไปเที่ยวได้ ผู้สนใจชมถ้ำผาฆ้องต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่ช่วยนำทางและเตรียมไฟฉายไปด้วย จุดเริ่มต้นเดินเท้าไปถ้ำผาฆ้องอยู่ที่บ้านป่าไร่ ซึ่งอยู่ในอำเภอปัว ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1256 บริเวณกิโลเมตรที่ 18 ระยะทางเดินประมาณ 3.5 กิโลเมตร

       


















                                        















กิจกรรมอำเภอยิ้มเคลื่อนที่


            ผอ.กฤษดา  ศรีใจวงศ์ ผอ.กศน.ปัวพร้อมด้วยบุคลากรกศน.ปัวร่วมอำเภอปัวจัดกิจกรรมโครงการอำเภอยิ้มเคลื่อนที่ โดยมีกิจกรรมต่างๆอาทิ การพับริบบิ้นโปรยทาน การตัดตุงไส้หมู การตัดผมชาย-หญิง และกิจกรรมตามอัธยาศัยของห้องสมุดประชาชนอ.ปัว ฯลฯ ในวันที่ 24 ก.พ. 2558  ณ หอประชุมบ้านหัวเมือง ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน
โดยมี นายสุรพล วงศ์สุขพิศาล นายอำเภอปัว   เป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าว






ประเมินกศน.ตำบล


                   กศน.ตำบลภูคา ได้รับการประเมินมาตรฐาน กศน.ตำบล จากคณะกรรมการประเมิน กศน.ตำบล ประจำปี 2558  โดยมีรายชื่อคณะกรรมการประเมิน คือ นางวนิดา  สมุทรอาลัย นางธิดารัตน์  แสนยะเสนีย์ และ นางรุจิรา   ต๊ะวิไชย   ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557











บุคลากร กศน.ตำบลภูคา


บุคลากร กศน.ตำบลภูคา
                           
นายกฤษดา   ศรีใจวงค์
ผอ. กศน.อำเภอปัว
                                                          

                                                                นายวัลภัทร   เขียวดี                                                                                                                                                                                               รองผอ. กศน.อำเภอปัว    

   


           นางลัดดาวัลย์  จิรนันนทนุกุล                                         นายปกรณ์   สีหราช                          
                           ครู กศน.ตำบลภูคา                                                   ครูผู้ประสานงาน กศน.ตำบล








วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อมูลพื้นฐานกศน.ตำบล



ข้อมูลพื้นฐานของ กศน. ตำบลภูคา
                                          
1.   ชื่อ กศน.ตำบล 
ศูนย์ กศน.ตำบลภูคา  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน
 
2.  ที่ตั้ง/การติดต่อ
          เลขที่ -  หมู่ที่  ถนน –  ตำบลภูคา  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์ 5512
       โทรศัพท์  08-6048-4753   โทรสาร -  E-mail   ntshee59@ outlook.com      

3.  สังกัด 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ
           
4.  ประวัติความเป็นมาของกศน.ตำบล
       4.1  ประวัติกศน.ตำบล 
               กศน.ตำบลภูคา ตั้งอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ 7 บ้านเต๋ยกิ่วเห็น ตำบลภูคา
 อำเภอปัว   จังหวัดน่าน
     ความเป็นมา
กศน.ตำบลภูคา เดิมมีชื่อว่า ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลภูคา อยู่ที่บ้านเต๋ยกิ่วเห็น หมู่ที่ 7 ตำบลภูคา อำเภอปัว  จังหวัดน่าน 55120 ระยะห่างจากอำเภอปัว 26  กิโลเมตร ระยะห่างจากจังหวัดน่าน 86 กิโลเมตร เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข  1256  สายอำเภอปัว - อำเภอบ่อเกลือ ได้ย้ายศูนย์การเรียนชุมชนตำบลภูคา มาอยู่ด้านบนของอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลภูคา  ตั้งแต่วันเสาร์  วันที่ 18 พฤศจิกายน  2549 โดยมีครูผู้รับผิดชอบ กศน.ตำบลภูคาจำนวน 1 คน  จนถึงปัจจุบัน และใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว ให้กับกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปัวและประชาชนทั่วไป  ในพื้นที่ตำบลภูคา  จำนวนทั้งสิ้น 13  หมู่บ้าน
กศน.ตำบลภูคา เป็นแหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอ การศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง
 3 ระดับคือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดถึงการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานภาคีเครือข่ายอีกด้วย

4.2  อาณาเขตพื้นที่รับผิดชอบ
          กศน.ตำบลภูคา  เป็นศูนย์การเรียนชุมชนที่รับผิดชอบให้บริการและจัดการเรียนการสอนให้แก่ชุมชน ตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อนและสลับร่องห้วยลึก มีพื้นที่ราบน้อยมาก ติดกับที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคา มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,100   เมตรรวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 282 ตร.กม. (176,250 ไร่) ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปัว ประมาณ 24 กิโลเมตร   บนเส้นทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  125  สายปัว  -  บ่อเกลือมีจำนวนหมู่บ้านอยู่ในเขตำบลภูคา จำนวน 13 หมู่บ้าน คือ
1.       บ้านปางยาง      หมู่ที่ 1  มีพื้นที่ 13,125 ไร่
2.       บ้านขุนกูน       หมู่ที่ 2  มีพื้นที่ 10,645 ไร่
3.       บ้านผาเวียง      หมู่ที่ 3  มีพื้นที่ 12,500 ไร่
4.       บ้านแจรงหลวง หมู่ที่ 4  มีพื้นที่ 9,375 ไร่
5.       บ้านตาน้อย      หมู่ที่ 5  มีพื้นที่ 7,000 ไร่
6.       บ้านเต๋ยกลาง    หมู่ที่ 6  มีพื้นที่ 8,125 ไร่
7.       บ้านเต๋ยกิ่วเห็น   หมู่ที่ 7  มีพื้นที่ 5,750 ไร่
8.       บ้านป่าไร่         หมู่ที่ 8  มีพื้นที่ 9,875 ไร่
9.       บ้านห้วยปูด      หมู่ที่ 9  มีพื้นที่ 12,500 ไร่
10.   บ้านเต๋ยห้วยงอน หมู่ที่ 10 มีพื้นที่ 11,250 ไร่
11.   บ้านกอก         หมู่ที่ 11 มีพื้นที่ 48,000 ไร่
12.   บ้านน้ำปัวพัฒนา หมู่ที่ 12 มีพื้นที่ 25,105 ไร่
13.   บ้านน้ำดั้น        หมู่ที่ 13  มีพื้นที่ 3,000 ไร่
           อาณาเขต
          ทิศเหนือ          ติดต่อกับ         ตำบลสถานและตำบลสกาด
          ทิศใต้             ติดต่อกับ         ตำบลศิลาเพชรและตำบลศิลาแลง
          ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         ตำบลบ่อเกลือเหนือและตำบลบ่อเกลือใต้
          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ         ตำบลวรนครและตำบลสถาน

4.3 สภาพชุมชนตำบลภูคา
              ชุมชนตำบลภูคาส่วนใหญ่เ ป็นชาวเขาเผ่าลั๊วะ  ประชากรในตำบลภูคา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเพื่อยังชีพ   โดยจะปลูกข้าวไร่( ข้าวเหนียว) เป็นหลักเพื่อเป็นการบริโภคในครัวเรือน  และเก็บเมล็ดพันธุ์ ไว้ทำพันธุ์ ในปีต่อไป    นอกจากนี้ตำบลภูคา  ยังมีพืชท้องถิ่น  คือเมี่ยง    และมะแขว่น (มะแข่น)   ซึ่งนิยมปลูกกัน



             4.3.1 ลักษณะภูมิประเทศ
                    สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มียอดดอยภูคา เป็นสัญลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,980 เมตร อันเป็นสัญลักษณ์ภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดน่าน โดยทั่วไปเป็นภูเขาหินทราย เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1 อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน แม่น้ำว้า เป็นต้น
            4.3.2  ลักษณะภูมิอากาศ
                  ตำบลภูคา มีสภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
          ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มีฝนตกชุก
          ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม - มกราคม จะมีอากาศหนาวจัด เฉลี่ย ประมาณ 10 องศาเซลเซียส
          ฤดูร้อน  ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 30 องศา
            4.3.3 สภาพเศรษฐกิจและสังคม
                   ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ข้าว ,ข้าวโพด,ปอสา,ทำสวนเมี่ยง,มะแขว่น และอาชีพรับจ้าง

            4.3.4 สถานศึกษา

              ภายในตำบลภูคา มีสถานที่ให้บริการทางด้านการศึกษาแก่ประชาชน  ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบโรงเรียน ดังนี้

1.     ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 ศูนย์ คือ ศูนย์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเต๋ยกิ่วเห็น หมู่ที่ 7 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นศูนย์พัฒนาเด็กที่องค์การบริหารส่วนตำบลภูคาจัดตั้งขึ้น (ตามประกาศ อบต. เรื่อง การจัดศพด.บ้านเต๋ยกิ่วเห็น ลว. 7 ม.ค. 50)  เดิมเป็นสถานีอนามัยตำบลภูคา (หลังเก่า) ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลภูคา ได้จัดสรรงบประมาณประจำปี 2549 ทำการซ่อมแซมและปรับปรุงอาคาร สถานที่ และภูมิทัศน์ ตามโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลภูคา และได้เปิดทำการเรียนการสอน เมือวันที่ 3  มกราคม 2550    
2.    โรงเรียนประถมศึกษา  จำนวน 7 แห่งได้แก่
-       โรงเรียนภูคาวิทยาคม
-       โรงเรียนพนาสวรรค์
-       โรงเรียนบ้างปางยาง
-       โรงเรียนบ้านผาเวียง
-       โรงเรียนประชาสรรค์
-       โรงเรียนบ้านน้ำปัวพัฒนา
-       โรงเรียนบ้านกอกจูน

3.       ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวงในเขตตำบลภูคา สังกัดศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 10 ศูนย์ ได้แก่
-       ศศช.บ้านขุนกูน
-       ศศช.บ้านน้ำขว้าง
-       ศศช.บ้านแจรงหลวง
-       ศศช.บ้านตาน้อย
-       ศศช.บ้านแจลง
-       ศศช.บ้านน้ำย้อ-ขุนดิน
-       ศศช.บ้านกอกน้อย
-       ศศช.บ้านจูน
-       ศศช.บ้านน้ำปัวพัฒนา
-       ศศช.บ้านน้ำดั้น
4.       กศน.ตำบลภูคา (ศูนย์การเรียนชุมชน) สังกัดศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่านจำนวน 1 แห่ง  ตั้งอยู่ที่บ้านเต๋ยกิ่วเห็น หมู่ที่ 7 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
          
4.3.5 การคมนาคม
การเดินทางใช้เส้นทางสายหลัก คือทางหลวงหมายเลข 1256 (เส้นทางสายอำเภอปัว - อำเภอบ่อเกลือ) สภาพเส้นทาง เป็นถนนลาดยาง ระยะทางโดยส่วนใหญ่ จะโค้งลาดชัน และมีเส้นทางลำลอง 5 เส้นทางซึ่งมีลักษณะเป็นถนนดินธรรมดาและดินลูกรังเป็นบางช่วงดังนี้
1.       เส้นทางระหว่างบ้านนาคำ  ตำบลศิลาเพชร บ้านขุนกูน ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร
2.       เส้นทางระหว่างบ้านดอนไชย ตำบลศิลาแลง บ้านผาเวียง ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร
3.       เส้นทางระหว่างบ้านส้านเหล่า ตำบลสถาน- บ้านห้วยปูด ระยะทาง 9 กิโลเมตร
4.       เส้นทางระหว่างบ้านสกาดเหนือ ตำบลสกาด - บ้านกอกน้อย ระยะทาง 15 กิโลเมตร
5.       เส้นทางระหว่างบ้านเต๋ยห้วยงอน บ้านแจรงหลวง ระยะทาง 7.8 กิโลเมตร
    
            4.3.6 แหล่งน้ำธรรมชาติ      
                   1.   แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ลำน้ำ,ลำห้วย   4 สาย คือ
       - ลำน้ำปัว                    -  ลำน้ำขว้าง
       - ลำน้ำกูน                    - ลำน้ำย่าง
         2.  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น จำนวน  24   แห่ง เป็นระบบประปาภูเขา     
           4.3.7 การปกครอง
   ตำบลภูคาแบ่งการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน  จำนวน  13  หมู่บ้าน  อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลภูคาโดยมี นายฟ้าพิทักษ์  ภูคาพิทักษ์พงษ์  เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลภูคา  ลักษณะโครงสร้างประชากรโดยทั่วไป เป็นครอบครัวเดี่ยวมากกว่าครอบครัวขยาย มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 17 คน / ตารางกิโลเมตร
            4.3.8   จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน และผู้นำหมู่บ้าน

หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ชื่อผู้ใหญ่บ้าน

ชาย

หญิง
รวม
ปางยาง
๑๔๘
๑๒๓
๒๗๑
นายวัชรินทร์   พนะสัน
ขุนกูน
๑๑๐
๘๕
๑๙๕
นายจาย        อินปา
ผาเวียง
๓๐๒
๒๘๖
๕๘๘
นายนัทพงศ์    อินปา
แจรงหลวง
๙๒
๙๐
๑๘๒
นายสาย        ทาแปง
ตาน้อย
๙๙
๙๙
๑๙๘
นายหล้า        ณ ชน
เต๋ยกลาง
๒๔๖
๒๓๗
๔๘๓
นายไตรภพ  ปัญญาภัทรภูดิศ
เต๋ยกิ่วเห็น
๑๓๕
๑๓๓
๒๖๘
นายสมจิตร     อินปา
ป่าไร่
๓๕๖
๓๐๖
๖๖๒
นายขจร        จอมจันทร์
ห้วยปูด
๒๑๐
๒๐๐
๔๑๐
นายคำ          อินปา
๑๐
ห้วยงอน
๒๔๖
๒๒๕
๔๗๑
นายอรุณ        อินปา
๑๑
กอก
๒๒๗
๒๑๗
๔๔๔
นายเสาร์        พนะสัน
๑๒
น้ำปัวพัฒนา
๑๓๕
๑๓๑
๒๖๖
นายเหลา        ณชน
๑๓
น้ำดั้น
๑๔๗
๑๓๒
๒๗๙
นายสวัสดิ์       ใจปิง

           
            4.3.9 พรรณไม้และสัตว์ป่า
               ตำบลภูคามีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และยังมีป่าสนเขากลุ่มเล็กๆ อยู่บริเวณทางตอนใต้ ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ใกล้กับดอยภูหวด นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าปกคลุมบนภูเขาเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นผลจากการแผ้วถางป่าของชาวบ้าน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อ ยาง ตะเคียน จำปีป่า ประดู่ แดง สัก เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม รวมทั้งปาล์มขนาดใหญ่ หวาย ผักกูด ไผ่ และหญ้าเพ็ก เป็นต้น พันธุ์ไม้หายาก เช่น ชมพูภูคา ก่วมภูคา จำปีป่า ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาสี่หนุ่ม เหลืองละมุน ประทัดน้อยภูคา กระโถนพระฤาษี กุหลาบแดง กุหลาบขาวเชียงดาว พันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น ได้แก่ เต่าร้างยักษ์ หมักอินทร์ คัดเค้าภูคา ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน นมตำเลีย และรางจืดต้นภูคา   สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่มีอย่างชุกชุม ได้แก่ ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวางป่า เก้ง หมูป่า เลียงผา ลิง ชะนี ค่าง หมี อีเห็นกระจง นาก ไก่ป่า ไก่ฟ้า เหยี่ยวรุ้ง นกมูม นกพญาไฟใหญ่ ฯลฯ มีนกหายาก 2 ชนิด ซึ่งพบที่ดอยภูคา ได้แก่ นกมุ่นรกคอแดง และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย

            4.3.10 ชนิดของป่าไม้
          1.ป่าดงดิบเขา  เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ประมาณ  ร้อยละ  25  ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา พรรณไม้ที่สำคัญที่พบเห็น ได้แก่ ก่อ  ยาง  ตะเคียน มณฑาป่า  จำปีป่า  และพญาเสือโคร่ง เป็นต้น  พรรณไม้พื้นล่างประกอบด้วย  ทวาย  ผักกูด  มอส  เฟิร์น  กล้วยไม้
          2. ป่าดิบแล้ง  เป็นป่าสมบูรณ์ตามริมแม่น้ำลำธาร เนื้อที่ร้อยละ  30  ของพื้นที่ พรรณไม้ที่สำคัญ คือ ยาง  ตะเคียน  มะค่าโมง  ประดู่  และ  กระบก  เป็นต้น  พรรณไม้พื้นล่าง ประกอบด้วย ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เฟิร์น  หวาย  เถาวัลย์  เป็นต้น
          3 ป่าเบญจพรรณ มีกระจัดกระจายทั่วบริเวณที่ราบตามขอบเขต และบริเวณพื้นที่มีความลาดชันน้อย  เนื้อที่ร้อยละ  25  ของพื้นที่ พรรณไม้ที่สำคัญ คือ  ยาง  มะค่าโมง  ประดู่แดง  ตะแบก  สัก  เป็นต้น ไม้พื้นล่าง ประกอบด้วยไม้ไผ่ชนิดต่างๆ
          4. ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่อยู่บริเวณ โดยรอบพื้นที่ลาดขาและบนดอยภูคาในพื้นที่บางจุด เนื้อที่ร้อยละ  10  ของพื้นที่  พรรณไม้ที่สำคัญ  คือ  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  พะยอม  พรรณไม้พื้นล่างประกอบด้วย  มะพร้าว เต่า  ปุ่มเปิง  หญ้าเพ็ด และหญ้าชนิดต่างๆ
5.ป่าสนธรรมชาติ  มีขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ในพื้นที่ทางด้านใต้ของอุทยาน
6.ทุ่งหญ้า มีอยู่กระจัดกระจายทั่วไป ในพื้นที่บางส่วนเกิดจากธรรมชาติอยู่ตามที่
ราบภูเขาสูง แต่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าที่เกิดจากการบุกรุกทำลายแผ้วถางป่า เพื่อทำไร่หมุนเวียน ของชาวเขา  มีอยู่ประมาณ  ร้อยละ  9  ของพื้นที่
           

            4.3.11 จุดเด่นของตำบล
-  มีสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
-  มีพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกไม้เมืองหนาว
-  มีพืชเศรษฐกิจพื้นบ้าน คือ มะแขว่น,ดอกก๋ง,ปอสา,เมี่ยง
-  มีพืชเศรษฐกิจบางชนิดที่ปลูกได้ในพื้นที่สูง คือ ท้อ,กาแฟ,ไม้ดอก